วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาทำข้อสอบเคมีกันเถอะ

1.    แก๊สชนิดหนึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจน  จากการทดลองพบว่ามวลโมเลกุลชนิดนี้มี
         ค่าประมาณ  50   และมีปริมาณไนโตรเจนประมาณ  30% โดยมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดนี้ประกอบ
         ด้วยออกซิเจนกี่อะตอม(ดูเฉลย)
          1.   1                     2.   2                     3.  3                               4.  4
2.    จากการวิเคราะห์สารประกอบ  Fe(SCN)3   .xH2O   พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ  19  โดย มวล
         สารประกอบนี้มีกำมะถันร้อยละเท่าใด(ดูเฉลย)
                1.  11.26              2.  22.53                3.  33.80                         4.  45.07
3.    กรดซัลฟิวริก  49  g   มี  H ,  S  และ O อย่างละกี่อะตอม  ตามลำดับ(ดูเฉลย)
                1.  3.01  x 1022                 6.02 x1022                  1.2 x1023
                    2.   3.01 x 1022                 1.2 X1023                    6.02 x 1022
                3.   6.02 x1022                  3.01  x1022                 1.2 x   1023
                4.   6.02  x1022                 1.2  x1023                    3.01  x1022
4.     ในการวิเคราะห์ผักบุ้ง  100 g  พบว่ามีตะกั่ว 0.208  ส่วนในล้านส่วน  ผักบุ้งจำนวนนี้มีตะกั่วกี่อะตอม
( Pb= 207) (ดูเฉลย)
       1.    6.02  x 1014              2.   6.02 x 1016          3.   6.02 x 1020     4.   6.02 x 1022
5.    จากสูตรของ   NaClO3 ,  SiCl4 ,  CO,  Li2CO3  จงเขียนสูตรของสารประกอบต่อไปนี้  เรียงตามลำดับ
         จากเจอร์เมเนียม   (IV)  โบรไมด์
         โซเดียมซิลิเคต
         ซิลิคอน  (IV)  ซัลไฟด์
         โพแทสเซียมโบรเมต(ดูเฉลย)
                  1.   GeBr2  ,  NaSiO ,  SiS3  ,  K2BrO3         2.   GeBr4 ,  Na2SiO4 ,  Si4S ,  KbrO3
                  3.   GeBr2 ,  Na2SiO4 ,  SiS2  ,  KbrO3           4.   GeBr4 ,  Na2SiO3 ,  SiS2 ,  KbrO3
6      สาร  X  5  g  ละลายในเบนซีน  20 g  สารละลายเดือดที่อุณหภูมิ  83.3C  จุดเดือดของ  X  และเบนซีน
เท่ากับ  300  และ 80.10C   ตามลำดับ  ถ้า  Kb   ของเบนซีนเท่ากับ  2.53C  X  มีมวลโมเลกุลเท่าใด
(ดูเฉลย)
1.   20                             2.   198                         3.   316                         4.   396
7.   น้ำเกลือซัลเฟตสูตร   MSO4.nH2O  หนัก 5.0 g  มาละลายในน้ำจนละลายหมด   แล้วเติมสารละลาย
       BaCl2  ลงไปมากเกินพอ  ปรากฏว่าเกิดปฏิกิริยาได้ตะกอน  BaSO4 หนัก  4.0 g  ถ้ามวลโมเลกุลของ
       MSO4   g   เท่ากับ  161.5  g.mol-1  n   มีค่าเท่าใด(ดูเฉลย)
         1.   4                               2.   5                              3.  6                             4.    7
8.       นักเคมีคนหนึ่งต้องการแยกเงินออกจากสารละลายที่ต้องการทิ้งซึ่งมี  AgNO3  เป็นส่วนใหญ่  เขาเติมสาร
ละลาย  BaCl2  เข้มข้น  0.5  mol.dm3  ลงไปทีละน้อยจนเกิดตะกอน   AgCl   สมบูรณ์  ปรากฏว่าใช้
BaCl2  ไป  24.0 cm3  ตะกอนที่ได้มี  Ag  หนักเท่าใด(ดูเฉลย)
1.   1.30  g                      2.   2.59 g                  3.   3.44 g                     4.  2.59  g
9.     H3PO4   สามารถแยกตัวให้โปรตอนได้  3  ขั้นตอน  จากค่า  K a ต่อไปนี้  ข้อสรุปใดผิด(ดูเฉลย)
          H3PO4     H+ + H2PO-4            Ka1   =    7.5  x 10-3
          H2PO4-         H+ + HPO2-4            Ka2   =    6.3 x 10-8
          HPO2-4     H+ + PO3-4               Ka3   =    4.0 x 10-13
1.   H3PO4  เป็นกรดแก่กว่า   H2PO-4  และ  HPO42-   ตามลำดับ
2.   สารละลาย  H3PO4   จะมีปริมาณ  H+ (หรือ  H3O+ )  มากกว่าไอออนชนิดอื่นๆ
              3.   H2PO4-  แสดงสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส
              4.   H3PO4  และ  H2PO4-  เป็นคู่กรด – เบสกันเช่นเดียวกับ  H2PO4-  กับ  HPO42-  ดังนั้น  H3PO4 และ
                    HPO42- นับเป็นคู่กรด – เบสกันได้
10.    เมื่อนำสารละลาย   A   B   C   และ   D  ความเข้มข้นเท่ากันไปทดสอบการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส และ
         ความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ข้อมูลดังนี้(ดูเฉลย)
  สารละลาย
สีกระดาษลิตมัส
ความสว่างของหลอดไฟ
A
ไม่เปลี่ยนแปลง
สว่างมาก
B
แดง -  น้ำเงิน
สว่างเล็กน้อย
C
น้ำเงิน -  แดง
สว่างมาก
D
ไม่เปลี่ยนสี
ไม่สว่างเลย

สารละลาย   A   B    C  และ  D   ในข้อใดเป็นไปได้
ข้อ
A
B
C
D
1.
MgCl2
NH4OH
H2SO4
C12H22O11
2.
NaCl
NaOH
C2H5OH
H2O
3.
KNO3
CH3COOH
KOH
NH4CN
4.
Na2Co3
NH4Cl
H2S
CH3OH

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รวบแล้ว! โรคจิตลวนลาม นักเรียนหญิงเมืองคอน

                    รวบแล้ว! โรคจิตลวนลาม นักเรียนหญิงเมืองคอน
                     รวบโรคจิตลวนลามนักเรียนหญิงเมืองคอนระดับ ป.ตรี

         ตำรวจเมืองคอนวิ่งไล่จับหนุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี กระทำอนาจารนักเรียนหญิง สารภาพขับเก๋งตระเวนก่อเหตุตามโรงเรียนต่างๆ มาแล้ว 4 แห่ง ออกอุบายลวงเหยื่อเมื่อหลงเชื่อจะลวนลามก่อนลงมือข่มขืน หากเหยื่อขัดขืนจะถูกทำร้าย 

         จากกรณีคนร้ายบุกเข้าไปก่อเหตุกรรโชกทรัพย์และพยายามข่มขืนนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมอีกหลายแห่งใน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมา พ.ต.อ.ญาณพัฒน์ นรสิงห์ ผกก.สภ.เมืองนครศรีธรรมราช ออกภาพสเก็ตช์ โดยคนร้ายอายุประมาณ 18-20 ปี สูงประมาณ 170 ซม. ผิวขาวหน้าตาดี คล้ายผู้มีเชื้อสายจีน พูดจาสำเนียงใต้ช้า มีหนวดเหนือริมฝีปากและคางเล็กน้อย และมีการทำหนังสือพร้อมทั้งสำเนาภาพสเก็ตช์แจ้งเตือนไปยังโรงเรียนทุกโรงเรียน ให้เฝ้าระวังบุคคลดังกล่าว ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น 

         ความคืบหน้าของคดีนี้ ล่าสุดเมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 24 มิถุนายน พ.ต.ท.สำเริง ชูกะนันท์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองนครศรีธรรมราช พ.ต.ต.นิรัตน์ เทพเดชา สว.สป.สภ.เมืองนครศรีธรรมราช พ.ต.ต.วินัย คงประพันธ์ สว.กลุ่มงานสืบสวน บก.ภ.นครศรีธรรมราช และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำกำลังเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวในบ้านเช่าซึ่งอยู่ในซอยหัวหลาง 1 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงบ้านหลังดังกล่าว ชายผู้ต้องสงสัยวิ่งหนีไปขึ้นรถยนต์ ทะเบียน กฉ 429 นครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขับรถยนต์จอดขวาง ชายผู้ต้องสงสัยจึงลงจากรถแล้ววิ่งหนีไปตามถนน เจ้าหน้าที่ตำรวจก็วิ่งไล่ตาม ท่ามกลางความตื่นตระหนกของชาวบ้านในย่านดังกล่าว และในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถจับกุมตัวชายคนดังกล่าวไว้ได้ 

         จากการสอบสวนเบื้องต้น ทราบชื่อชายผู้ต้องสงสัยคือ นายอดิศักดิ์ เดชทองคำ อายุ 20 ปี ให้การรับสารภาพว่าศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันแห่งหนึ่ง การก่อเหตุแต่ละครั้งจะใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะตระเวนไปตามโรงเรียนต่างๆ จากนั้นจะออกอุบายล่อลวงนักเรียนหญิง เมื่อเด็กหลงเชื่อก็จะพยายามลวนลามและข่มขืน หากเด็กหญิงคนดังกล่าวขัดขืนก็จะถูกทำร้าย นอกจากนี้ยังชิงทรัพย์จากเหยื่อด้วย 

         พ.ต.ท.สำเริง กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าคนร้ายก่อเหตุรวม 4 ครั้งใน 4 โรงเรียน มีการแจ้งความเป็นคดีแล้ว 3 คดี และจากการสอบสวนนักเรียนหญิงผู้เสียหายพบว่าอยู่ในขั้นกระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย จึงแจ้งข้อหากับนายอดิศักดิ์ว่ากระทำอนาจารเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี โดยใช้กำลังประทุษร้ายและชิงทรัพย์ ทั้งนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ให้ควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากเกรงว่านายอดิศักดิ์จะคิดอะไรบางอย่างที่คาดไม่ถึง 

         ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่มีการจับกุมนายอดิศักดิ์ เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหายรวมทั้งครู อาจารย์และพยานที่เห็นเหตุการณ์ให้มาดูตัว ปรากฏว่าผู้เสียหายและพยานต่างยืนยันและชี้ตัวนายอดิศักดิ์ตรงกันว่าเป็นคนร้ายที่เข้าไปก่อเหตุในโรงเรียน 

         ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะแจ้งผลการจับกุมผู้ต้องหาไปยังผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆ ให้ได้รับทราบ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและหวาดกลัวของนักเรียนต่อไป


ข้อมูลจาก

ภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด

นายศักดิ์ชัย ทุมธารา ม.6/1

คีโตน

การเรียกชื่อคีโตน

การเรียกชื่อคีโตน จะตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเหมือนแอลดีไฮด์ แล้วลงท้ายเสียงด้วย อาโนน (anone)

จำนวน C
สูตรโครงสร้างแบบย่อ
สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
3
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
4
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
5
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
6
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)

สมบัติของคีโตน

1. คีโตนเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับอลดีไฮด์ เช่น

โพรพาโนน (propanone)

โพรพานาล (propanal)


2. โมเลกุลเล็ก ๆ ละลายน้ำได้ เมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นจะละลายน้ำได้น้อยลง

3. จุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเนื่องจากมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงขึ้น

จุดเดือดและสภาพละลายได้ที่ 20OC  ของคีโตนบางชนิด

สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
จุดเดือด (OC)
สภาพละลายได้ที่ 20OC
(g / น้ำ 100 g)
CH3COCH3
โพรพาโนน (propanone)
56.1
ละลาย
CH3COCH2CH3
บิวทาโนน (butanone)
79.6
26.0
CH3COCH2CH2CH3
เพนทาโนน (pentanone)
102.3
6.3
CH3COCH2CH2CH2CH3
เฮกซาโนน (hexanone)
127.2
2.0

4. เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลเคน แอลดีไฮด์ คีโตน และแอลกอฮอล์ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน พบว่าจุดเดือดจะเรียงดับดังนี้



ชื่อ
สูตรโครงสร้าง
มวลโมเลกุล
จุดเดือด (OC)
บิวเทน
CH3CH2CH2CH3
58
– 0.5
โพรพานาล
CH3CH2CHO
58
48.0
โพรพาโนน
CH3COCH3
58
56.1
โพรพานอล
CH3CH2CH2OH
60
97.2

แอลดีไฮด์และคีโตนมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคน เพราะแอลดีไฮด์และคีโตนเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าแอลเคนซึ่งเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากแอลดีไฮด์และคีโตนไม่มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง จึงทำให้มีจุดเดือดต่ำกว่าแอลกอฮอล์